ผมค้นมาให้อ่านกันครับ

    โคลงเคลง

ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Melastoma malabathricum L. subsp. malabathricum
วงศ์ :  Melastomataceae
ชื่อสามัญ :  Malabar melastome, melastoma, Indian-rhododendron
ชื่ออื่น :  กะดูดุ (มลายู-ปัตตานี); กาดูโด๊ะ (มลายู-สตูล, ปัตตานี); โคลงเคลง, โคลงเคลงขี้นก, โคลงเคลงขี้หมา (ตราด); ซิซะโพ๊ะ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี); ตะลาเด๊าะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน); เบร์, มะเหร, มังเคร่, มังเร้, สาเร, สำเร (ภาคใต้); มายะ (ชอง-ตราด); อ้า, อ้าหลวง (ภาคเหนือ)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  ไม้พุ่ม  กิ่งเป็นสี่เหลี่ยม มักมีขน เกสรเพสผู้ 10 เรียงเป็น 2 วง มีระยางค์ ใบ  เป็นใบเดี่ยว เรียงเป็นคู่ตรงกันข้าม เรียงแบบสลับน้อย เส้นใบ 3-9 ออกจากจุดเดียวกันตรงฐานใบ แล้วเบนเข้าหาปลายใบ เส้นใบย่อยเรียงแบบ ขั้นบันได ไม่มีหูใบ ดอก ดอกเป็นช่อ สมบูรณ์เพศ มีสมมาตรตามรัศมี กลีบเลี้ยง 3-6 (ส่วนใหญ่ 5) กลีบดอก 5 เรียงเกยซ้อนกันในดอกอ่อน เกสรเพศผู้ 10 เรียงเป็น 2 วง (จำนวน 5 พบน้อย) มีระยางค์ รังไข่อยู่ใต้วงกลีบ ผล  เมื่อแก่เปลือกจะแห้ง และแตกออก ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก หรือผลมีเนื้อนุ่ม หลายเมล็ด
ประโยชน์ :  เป็นยาพื้นบ้าน แก้คอพอก แก้อาเจียนเป็นเลือด และถ่ายเป็นเลือด ราก แก้ร้อนในกระหาย

Submit to FacebookSubmit to Google PlusSubmit to TwitterShare with friendsPrint this page

จำนวนผู้เข้าชม

2410582
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
7313
4769
19684
2373974
56534
87693
2410582

Your IP: 108.162.227.71
2024-11-21 22:51