ยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
วิสัยทัศน์
“สังคมก้าวหน้า มุ่งเน้นบริการประชา
พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน บูรณาการเศรษฐกิจ
สร้างระบบบริหารจัดการ ส่งเสริมคุณภาพชีวิตและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม”
ยุทธศาสตร์
- ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
- ยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยว
- ยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจ
- ยุทธศาสตร์การพัฒนาสังคม
- ยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
เป้าประสงค์
- การคมนาคมสะดวก
- ระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ เพียงพอและทั่วถึง
- จัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ไม่ให้เกิดมลพิษและมีความยั่งยืน
- พัฒนาและจัดการด้านการท่องเที่ยวให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืน
-ประชาชนดำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
-ชุมชนมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
- ประชาชนมีสุขภาพดี
- การบริหารจัดการมีประสิทธิภาพตามแนวธรรมาภิบาล
- การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น
- ส่งเสริมการศึกษา อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณี
ตัวชี้วัด
-มีจำนวนเส้นทางคมนาคมที่ได้มาตรฐาน ปลอดภัยเพิ่มขึ้น
-ร้อยละของครัวเรือนมีไฟฟ้าใช้
-ร้อยละของครัวเรือนที่มีน้ำใช้เพียงพอตลอดทั้งปี
-ร้อยละความพึงพอใจในการมีส่วนร่วมในการรักษาสิ่งแวดล้อม
-ร้อยละความพึงพอใจในการมีส่วนร่วมการท่องเที่ยวที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน
-ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น
-ร้อยละความพึงพอใจของประชาชนในความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
-ประชาชนมีสุขภาพและอนามัยที่ดีเพิ่มขึ้น
-ร้อยละของครัวเรือนที่ปลอดยาเสพติด
-ร้อยละของประชาชนได้รับการดูแลสวัสดิการสังคมอย่างเป็นธรรม
-ร้อยละความพึงพอใจของประชาชนในการบริหารจัดการมีประสิทธิภาพ
-ร้อยละการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น
-ร้อยละของเด็กและเยาวชนได้รับการส่งเสริมและพัฒนาการศึกษา
-ร้อยละความพึงพอใจของประชาชนในการมีส่วนร่วมกิจกรรมศาสนาและวัฒนธรรมท้องถิ่น
ค่าเป้าหมาย
-ปรับปรุงและพัฒนาระบบคมนาคมขนส่ง ระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการให้ได้มาตรฐาน มีประสิทธิภาพและเพียงพอต่อความต้องการของประชาชน เพื่อรองรับการขยายตัวของเมืองในอนาคตและเศรษฐกิจของท้องถิ่น
-การเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการด้านการท่องเที่ยว และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ดีเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
-การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของคน ครอบครัว และชุมชนให้เข้มแข็ง สามารถพึ่งตนเองได้ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
-พัฒนาระบบการสาธารณสุข ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินให้มีประสิทธิภาพและเพียงพอ
- การสร้างระบบบริหารจัดการที่ดี โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินในการวางแผนพัฒนา การตรวจสอบ เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการบริหารและการปก ครอง
-การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารและการบริการให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อสนับสนุน การบริหารจัดการที่ดี
-ปรับปรุงและพัฒนาระบบการศึกษา ตลอดจนอนุรักษ์และพัฒนาศิลปวัฒนธรรมอันดีงามและภูมิปัญญาของท้องถิ่น
กลยุทธ์
-การก่อสร้าง ปรับปรุง บำรุงรักษาถนน ทางเท้า สะพาน ท่าเทียบเรือ ท่อระบายน้ำ
-การพัฒนาระบบไฟฟ้าและแสงสว่าง
-การจัดหา พัฒนาแหล่งน้ำและระบบประปา
-การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
-การพัฒนาการท่องเที่ยว
-การจัดหางาน สร้างรายได้และส่งเสริมอาชีพ
-การสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
-การส่งเสริมสุขภาพและอนามัย
-การป้องกันยาเสพติด
-การสนับสนุนผู้ด้อยโอกาสทางสังคม
-การพัฒนาการเมืองและบริหาร
-การส่งเสริมการศึกษาและการกีฬา
-การส่งเสริมศาสนาและวัฒนธรรมท้องถิ่น
จุดยืนทางยุทธศาสตร์
ตำบลคลองยาง มีจุดเด่นคือ มีทรัพยากรธรรมชาติ ได้แก่ แหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์มีความหลากหลายทางชีวภาพ เหมาะแก่การปลูกพืชทุกชนิด เป็นพื้นที่แหล่งน้ำ กักเก็บน้ำที่อุดมสมบูรณ์ มีทะเลล้อมรอบ มีทรัพยากรสัตว์น้ำที่หลากหลาย พืชเศรษฐกิจของตำบล ได้แก่ ยางพารา ปาล์ม และข้าว ที่เป็นรายได้หลักของประชาชน นอกจากนี้ภายในพื้นที่ตำบล ด้านกายภาพมีการคมนาคมที่สะดวกเป็นพื้นที่สามารถเชื่อมต่อไปยังแหล่งท่องเที่ยวหลายแห่งและพื้นที่อื่นได้อย่างสะดวก ทำให้เกิดโอกาสในการส่งเสริมการค้าชุมชนและพัฒนาเป็นประตูสู่แหล่งท่องเที่ยวเปิดรับประชาคมอาเซียน รวมทั้งมีศาสนสถานในทุกหมู่บ้านเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของประชาชน และมีโรงเรียนทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา
ดังนั้นด้วยสภาพพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลที่สามารถเดินทางผ่านสู่อำเภอ พร้อมความอุดมสมบูรณ์ นอกจากเหมาะแก่การทำการเกษตร การประมง ส่งเสริมอาชีพให้กับประชาชนแล้ว ทุกหมู่บ้านยังมีศาสนสถานที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของประชาชน และมีโรงเรียนทั้งระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา ดังคำขวัญตำบลคลองยาง
“ประตูลันตา ศาสนารุ่งเรือง เมืองปาล์มยางมี คนดีศรีคลองยาง”