องค์การบริหารส่วนตำบลคลองยางร่วมรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด 

การป้องกันปัญหายาเสพติด

การป้องกันปัญหาสิ่งเสพติดต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย ดังนี้ 
     1. ไม่ทดลองเสพสิ่งที่รู้ว่ามีภัย เพราะอาจจะทำให้ติดได้ง่าย
     2. เลือกคบเพื่อนที่ดี พยายามหลีกเลี่ยงเพื่อนที่ชอบชักจูงไปในทางเสื่อมเสีย
     3. รู้จักใช้วิจารณญาณในการแก้ปัญหา แต่หากว่าไม่สามารถแก้ไขเองได้ ก็ควรจะปรึกษากับพ่อแม่หรือญาติผู้ใหญ่ที่ไว้ใจได้ 
     4. การสร้างทักษะชีวิต โดยเฉพาะทักษะการปฏิเสธเมื่อถูกเพื่อนชักชวนให้เสพสิ่งเสพติดต้องรู้จักปฏิเสธอย่างนุ่มนวล โดยการชี้แจงผลเสียของสิ่งเสพติดต่อการเรียนและอนาคต การรู้จักปฏิเสธอย่างจริงจังและจิตใจแน่วแน่จะทำให้เพื่อนเกรงใจไม่กล้าชวนอีก 

        ป้องกันตนเอง ทำได้โดย..
          • ศึกษาหาความรู้ เพื่อให้รู้เท่าทันโทษพิษภัยของยาเสพติด
          • ไม่ทดลองใช้ยาเสพติดทุกชนิดและปฏิเสธเมื่อถูกชักชวน
          • ระมัดระวังเรื่องการใช้ยา เพราะยาบางชนิดอาจทำให้เสพติดได้
 

          • ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
          • เลือกคบเพื่อนดี ที่ชักชวนกันไปในทางสร้างสรรค์
          • เมื่อมีปัญหาชีวิต ควรหาหนทางแก้ไขที่ไม่ข้องเกี่ยวกับยาเสพติด หากแก้ไขไม่ได้ควรปรึกษา ผู้ใหญ่ 
การป้องกันในครอบครัว 
 

     ผู้ที่ติดสิ่งเสพติดส่วนใหญ่จะเกิดจากครอบครัวที่แตกแยกมีปัญหา ขาดความรักความอบอุ่น เกิดความว้าเหว่ ขาดที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ ซึ่งเป็นเหตุให้เด็กๆ หันไปพึ่งยาเสพติดแทน ดังนั้นพ่อแม่จึงควรให้ความรักความอบอุ่น และพ่อแม่ก็ควรจะประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี และเป็นที่ปรึกษาให้แก่ลูกๆได้ ทำให้ลูกไม่หันไปพึ่งพายาเสพติด
           ป้องกันครอบครัว ทำได้โดย
           • สร้างความรัก ความอบอุ่นและความสัมพันธ์อันดีระหว่างสมาชิกในครอบครัว
           • รู้และปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของตนเอง
 

           • ดูแลสมาชิกในครอบครัว ไม่ให้ข้องเกี่ยวกับยาเสพติด
           • ให้กำลังใจและหาทางแก้ไข หากพบว่าสมาชิกในครอบครัวติดยาเสพติด
 
  การป้องกันในโรงเรียน 
     ครูควรให้ความรู้เกี่ยวกับโทษและอันตรายของสิ่งเสพติดให้กับนักเรียน จัดให้มีกิจกรรมนันทนาการในโรงเรียนให้เพียงพอและสนับสนุนให้นักเรียนได้ร่วมกิจกรรมนันทนาการต่างๆและสอนให้เด็กรู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
การป้องกันชุมชน
       
การป้องกันชุมชนจากปัญหาสิ่งเสพติดทำได้หลายวิธี เช่น
    1. การให้ความรู้ โดยการอบรมแก่ทุกคนในชุมชนให้เห้นโทษหรืออันตรายจากสิ่งเสพติด
    2. เสริมกิจกรรมยามว่าง โดยการส่งเสริมอาชีพแก่ชุมชนยามว่าง เช่น การเย็บเสื้อผ้า การทำรองเท้า เป็นต้น
    3. ตั้งศูนย์รับแจ้งเบาะแสเกี่ยวกับสิ่งเสพติด เมื่อพบว่ามีการซื้อขายหรือเสพสิ่งเสพติดภายในชุมชน
    4. เข้าร่วมโครงการชุมชนปลอดสิ่งเสพติดต่างๆ ทั้งที่ทางราชการจัดขึ้น และชุมชนคิดริเริ่มขึ้นมาเอง
         ป้องกันชุมชน ทำได้โดย
           • ช่วยชุมชนในการต่อต้านยาเสพติด
           • เมื่อทราบแหล่งเสพ แหล่งค้า หรือผลิตยาเสพติด ควรแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบทันที ที่... 
                *สำนักงาน ป.ป.ส. โทร. 02-2459414 หรือ 02-2470901-19 ต่อ 258  โทรสาร 02-2468526
                *ศูนย์รับแจ้งข่าวยาเสพติด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โทร. 1688 

 รัฐบาล  
    1. การให้การศึกษาแก่ประชาชนอย่างทั่วถึง
    2. แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมอย่างจริงจัง และจัดสรรงบประมาณในการป้องกันและปราบปรามสิ่งเสพติด
    3. จัดบุคลากรและหน่วยงานในการป้องกันและปราบปรามสิ่งเสพติดให้เพียงพอ และดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
    4. การบังคับใช้กฏหมายอย่างจริงจัง บางครั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจบางคนที่ดูแลด้านสิ่งเสพติดก็ปล่อยปละละเลย หรือทำการค้าสิ่งเสพติดเสียเอง ทำให้การปราบปรามไม่ได้ผลเท่าที่ควร ดังนั้นรัฐบาลจึงควรเข้ทมงวดกับผู้กระทำผิดและลงโทาผู้กระทำผิดอย่างจริงจังและต่อเนื่อง

    

 

Submit to FacebookSubmit to Google PlusSubmit to TwitterShare with friendsPrint this page

จำนวนผู้เข้าชม

2411634
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
890
7475
20736
2373974
57586
87693
2411634

Your IP: 162.158.162.149
2024-11-22 06:43