การรณรงค์ให้ประชาชนเก็บกักนํ้า
ตามที่ได้มีมติคณะรัฐมนตรี เห็นชอบให้จัดสัปดาห์รณรงค์ สำรวจ ซ่อม และสร้างภาชนะเก็บนํ้า
ประจำปี เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการจัดเตรียมภาชนะเก็บนํ้าในการสำรองนํ้าไว้ใช้ในฤดูแล้งอย่าง
เพียงพอ
รวมถึงเพื่อสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนมีความตระหนักและเห็นคุณค่าของการใช้นํ้าอย่างประหยัด
และเป็นการช่วยเพิ่มพูนความรู้ การดูแล รักษา ซ่อม สร้างภาชนะเก็บนํ้าให้ถูกสุขลักษณะ ซึ่งจะช่วยป้องกัน
โรคต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในฤดูแล้งได้ เพื่อสนองตอบนโยบายชาติ และขณะนี้ ย่างเข้าสู่ ช่วงฤดูแล้ง ซึ่งเป็นช่วง
ที่ฝนขาดระยะอาจทำให้เกิดภาวการณ์ขาดแคลนนํ้าในการอุปโภค-บริ โภค เนื่ องจากนํ้าที่มีอยู่ตามแหล่งกัก
เก็บนํ้าต่างๆ มีปริมาณลดลง อาจส่งผลกระทบต่อประชาชน ดังนั้นเพื่อเป็นการแก้ไขภาวะการขาดแคลน
นํ้าให้ส่งผลกระทบน้อยที่สุด เพื่อมีนํ้าใช้อย่างเพียงพอและต่อเนื่อง จึงขอความร่วมมือจากประชาชนใช้นํ้า
อย่างประหยัด ควรปิ ดนํ้าทุกครั้งหลังเสร็จสิ้นภารกิจ สอดส่องดูแล ตรวจสอบระบบเดินนํ้าภายในบ้าน
อาคาร หากพบว่าชำรุด หรื อเสื่อมสภาพ ควรซ่อมแซม รักษาให้คงสภาพเดิม เพื่อสามารถใช้งานได้ตามปกติ
มิให้เกิดความเสียสิ้นเปลือง นอกจากนี้ ควรจัดเตรียมภาชนะเก็บกักนํ้าพร้อมฝาปิดให้เพียงพอเพื่อเป็นการ
สำรองนํ้าไว้ใช้ในฤดูแล้งนี้ ……
การใช้นํ้าอย่างประหยัดและถูกวิธี
วันนี้ อบต.คลองยาง มีวิธีการใช้นํ้าอย่างประหยัดและถูกวิธี มาฝาก...
การอาบนํ้า การใช้ฝักบัวจะสิ้นเปลืองนํ้าน้อยที่สุด ฝักบัว ยิงเล็ก ยิงประหยัดนํ้า ปิดฝักบัว ในขณะที่ถูสบู่ จะใช้นํ้าเพียง 30 ลิตร หากไม่ปิดจะใช้นํ้าถึง 90 ลิตร และหากใช้อ่างอาบนํ้าจะใช้นํ้าถึง 110-200 ลิตร
การโกนหนวด โกนหนวดแล้วใช้กระดาษเช็ดก่อน จึงใช้นํ้า จากแก้วมาล้างอีกครั้ง ล้างมีดโกนหนวดโดยการ จุ่มล้างในแก้ว จะประหยัดกว่าล้างโดยตรงจากก๊อก
การแปรงฟัน การใช้นํ้าบ้วนปากและแปรงฟันโดยใช้แก้ว จะใช้นํ้าเพียง 0.5-1 ลิตร การปล่อยให้นํ้าไหล จากก๊อกตลอดการแปรงฟัน จะใช้นํ้าถึง 20-30 ลิตรต่อครั้ง
- การใช้ ชักโครก การใช้ชักโครกจะใช้นํ้าถึง 8-12 ลิตร ต่อครั้ง เพื่อการประหยัด ควรใช้ถุงบรรจุนํ้ามาใส่ ในโถนํ้า เพื่อลดการใช้นํ้า โถส้วมแบบตักราดจะ สิ้นเปลืองนํ้าน้อยกว่าแบบชักโครกหลายเท่า หากใช้ ชัก โครกควรติดตั้งโถปัสสาวะและโถส้วมแยกจากกัน
-การซักผ้า ขณะทำการ ซักผ้าไม่ควรเปิดนํ้าทิ้งไว้ตลอดเวลา จะเสียนํ้าถึง 9ลิตร/นาที ควรรวบรวมผ้าให้ได้มากพอต่อการซักแต่ละครั้ง ทั้งการซักด้วยมือ
และเครื่ องซักผ้า
-การล้างถ้วยชามภาชนะ ใช้กระดาษเช็ดคราบสกปรกออกก่อน แล้วล้างพร้อมกันในอ่างนํ้าจะประหยัดเวลาประหยัดนํ้า และให้ความสะอาดมากกว่าล้างจากก๊อกโดยตรง ซึ่งจะสิ้นเปลืองนํ้า 9 ลิตร/นาที
การล้างผักผลไม้ ใช้ภาชนะรองนํ้าเท่าที่จำเป็น ล้างผัก ผลไม้ได้สะอาดและประหยัดกว่าเปิ ดล้างจากก๊อกโดยตรง ถ้าเป็น ภาชนะที่ยกย้ายได้ ยังนำนํ้าไปรดต้นไม้ได้ด้วย
- การรดนํ้าต้นไม้ ควรใช้ฝักบัวรดนํ้าต้นไม้แทนการใช้ สายยางต่อจากก๊อกนํ้าโดยตรง หากเป็นพื้นที่บริเวณกว้าง ก็ควรใช้ สปริงเกลอร์ หรือใช้นํ้าที่เหลือจากกิจกรรมอื่นมารดต้นไม้ ก็จะช่วย ประหยัดนํ้าลงได้
- การเช็ดพื้น ควรใช้ภาชนะรองนํ้าและซักล้างอุปกรณ์ใน ภาชนะก่อนที่จะ นำไปเช็ดถู จะใช้นํ้าน้อยกว่า การใช้สายยางฉีดล้างทำ ความสะอาดพื้นโดยตรง
- การล้างรถ ควรรองนํ้าใส่ ภาชนะ เช่น ถังนํ้า แล้วใช้ผ้าหรือเครื่องมือล้างรถจุ่มนํ้าลงในถัง เพื่อเช็ดทำความ สะอาดแทนการ ใช้สายยางฉีดนํ้าโดยตรง
ซึ่งจะเสีย นํ้าเป็นปริมาณมากถึง 150-200 ลิตร/ครั้ง