ประชาชนชาวไทยจะต้องรู้รายละเอียดการเลือกตั้งปี 2562 ให้กระจ่างแจ้ง สำหรับบทความนี้จะขอสรุปคู่มือการเลือกตั้งโดยย่อ ดังนี้

1) ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง:

       ต้องมีสัญชาติไทย / มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีในวันเลือกตั้ง / มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ในเขตเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 90 วัน นับถึงวันเลือกตั้ง

2) บุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง:

       ภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช / อยู่ระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง / ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาล หรือโดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย / วิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ

3) วิธีการเลือกตั้ง:

       การเลือกตั้ง ส.ส. แบบใหม่ จากระบบ “จัดสรรปันส่วนผสม” เหลือบัตรใบเดียว แต่ยังมี ส.ส. 2 ระบบ คือ แบบบัญชีรายชื่อและแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ดังนั้น ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งสามารถ "เลือกคนที่รัก พรรคที่ชอบ" หากพรรคที่ชอบไม่มีการส่งคนลง แปลว่า เลือกพรรคนั้นไม่ได้

4) เวลาเลือกตั้ง:

       การเลือกตั้งครั้งนี้ ปิดหีบเวลา 17.00 น. จากเดิมปิดเวลา 15.00 น.

5) ประเภทของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.): แบ่งเป็น 2 แบบ คือ

       ส.ส.แบ่งเขต และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ (Party lists) หรือพรรคการเมืองนั่นเอง โดยจะมีจำนวนทั้งสิ้น 500 คน ดำรงตำแหน่ง 4 ปี โดยทำหน้าที่พิจารณาร่างกฎหมาย ตรวจสอบรัฐบาลและควบคุมการบริหาร เห็นชอบบุคคลดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

  • ส.ส.แบ่งเขต - เป็นผู้แทนที่ลงสมัครตามเขตพื้นที่ที่กำหนด โดยในครั้งนี้จะมีทั้งหมด 350 เขตพื้นที่ทั่วประเทศ ผู้ชนะแต่ละเขตก็จะได้เป็นส.ส. ดังนั้นประเภทนี้จึงมีจำนวน 350 คน
  • ส.ส.บัญชีรายชื่อ (Party lists) - เป็นผู้แทนที่แต่ละพรรค จะลิสต์รายชื่อเรียงลำดับมาไม่เกิน 150 คนแล้วส่งให้ กกต.จากนั้นหลังการเลือกตั้ง ผลคะแนนก็จะบอกจำนวนส.ส. ที่แต่ละพรรคจะได้สำหรับประเภทนี้ โดยมีจำนวน 150 คน

6) ประเภทของสมาชิกสภาวุฒิสภา (ส.ว.):

       ส.ว. หรือ สมาชิกสภาวุฒิสภา จะมาการจากแต่งตั้ง โดยมีทั้งสิ้น 200 คน ดำรงตำแหน่ง 5 ปีวาระเดียว คือ ไม่สามารถกลับมาเป็นได้อีก โดยทำหน้าที่กลั่นกรองกฏหมาย ให้ความเห็นชอบผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรระดับสูง

7) ระบบการเลือกแบบใหม่: สำหรับระบบการเลือกแบบใหม่ มีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง ซึ่งประเด็นที่น่าสนใจและต้องทำความเข้าใจ ดังนี้

  • ระบบเลือกตั้งใหม่ เรียกว่า ระบบจัดสรรปันส่วนผสม (Mixed Member Apportionment system; MMA)
  • ส.ส. จำนวนทั้งสิ้น 500 คน แบ่งเป็น ส.ส.เขต 350 คน และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 150 คน
  • ประชาชนเลือก ส.ส.แบ่งเขต ส่วน ส.ส.บัญชีรายชื่อ จะคิดตามสูตรคำนวณแบบใหม่
  • เลือกตั้งแบบ One Man One Vote คือ คนที่ไปใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้ง จะกาได้เบอร์เดียวใบเดียว เท่านั้น “1 คน 1 เสียง”
  • ผู้สมัครส.ส.เขต ที่ได้คะแนนมากที่สุดในเขตนั้น จะได้เป็น ส.ส. เมื่อคะแนนมากกว่าคะแนน Vote No (ไปเลือกตั้ง แต่ไม่เลือกใคร) ด้วย หากผู้สมัครส.ส.เขต ได้คะแนนเสียงเท่ากัน ให้จับฉลากต่อหน้า กกต. ประจำเขต
  • คะแนนเสียงทั้งหมดทุกคะแนนที่แต่ละพรรคการเมืองได้ นำมาคำนวณสัดส่วน ว่าแต่ละพรรคจะได้จำนวน ส.ส. เท่าใดจากที่นั่ง ส.ส. ทั้งหมด
  • นายกรัฐมนตรีไม่ต้องเป็น ส.ส. โดยพรรคการเมืองต้องแจ้งรายชื่อคนที่จะเป็น นายกรัฐมนตรี ให้สภาเห็นชอบ พรรคละไม่เกิน 3 รายชื่อ ทางกกต. จะประกาศให้ประชาชนได้พิจารณาลงคะแนนเสียงให้กับพรรคนั้น

8) การได้มาของ ส.ส.แบ่งเขต:

  • การเลือกส.ส.แบบใหม่ เหลือบัตรใบเดียว แต่มีส.ส. 2 ระบบ คือ ส.ส.แบ่งเขต และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ (Party Lists) โดยแต่ละคนจะมี 1 คะแนนเสียง
  • ส.ส.เขต มี 350 คน จาก 350 เขตเลือกตั้ง และผู้สมัครส.ส. จะได้เบอร์ตามที่จับได้ ตามลำดับ ไม่ได้แบ่งเขต

          >>> ตัวอย่างเช่น ผู้สมัครของพรรค A ใน กทม. เขตที่ 1 จับได้เบอร์ 10 ผู้สมัครของพรรค A ใน กทม. เขตที่ 2 อาจจับได้เบอร์ 1 ดังนั้น ใน 30 เขตเลือกตั้งของ กทม. พรรค A จะมีหลายหมายเลขผู้สมัคร จึงทำให้ต้องระมัดระวังในการกาบัตรและจำเป็นต้องจำเบอร์ของหมายเลขผู้สมัครที่เราต้องการจะเลือก เพราะหากเลือกผิดเบอร์ คะแนนอาจจะตกเป็นของพรรคอื่นที่เราไม่ได้ตั้งใจจะเลือกได้

  • การนับคะแนนเสียงเลือกตั้ง สำหรับผู้สมัครส.ส.เขต ที่ได้คะแนนเสียงมากที่สุด จะได้เป็น ส.ส. เมื่อคะแนนเสียงมากกว่าคะแนน Vote No กรณีไม่มีใครได้คะแนนเสียงมากกว่า Vote No นั้นให้เลือกตั้งในเขตนั้นใหม่ และหากคะแนนเสียงเท่ากัน ให้จับฉลากต่อหน้ากกต. ประจำเขตเลือกตั้ง

9) การได้มาของ ส.ส.บัญชีรายชื่อ (Party lists):

       สำหรับผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ จะต้องมาดูกันอีกทีว่าพรรคของตนได้สัดส่วนเท่าไรในคะแนนเสียงรวมกันทั่วประเทศ ตามสูตรการคำนวณดังนี้

  • นำคะแนนผู้ใช้สิทธิ์เลือกตั้งทั้งหมด (สมมติ 40,000,000 คน) ลบด้วยคะแนน Vote No และบัตรเสียออกก่อน โดยนับเฉพาะคะแนนของพรรคที่ส่งส.ส.บัญชีรายชื่อ (สมมติ 5,000,000 คน) ก็จะเหลือคะแนนที่ผู้มาใช้สิทธิ์ลงให้ผู้ลงสมัครตามเขตต่าง ๆ จำนวน 35,000,000 คน
  • จากนั้นให้นำจำนวน 35,000,000 คน ดังกล่าว หารด้วย ส.ส. ทั้งหมด 500 คน ดังนั้น ส.ส.บัญชีรายชื่อ 1 คน ควรได้คะแนนประมาณ 70,000 คะแนน
  • จากนั้นนำจำนวน 70,000 คะแนน ดังกล่าว มาคำนวณหาว่าพรรค ๆ หนึ่งจะต้องได้ ส.ส.ทั้งหมดเท่าไหร่ โดยการนำคะแนนเสียงรวมทั้งประเทศของ ส.ส. เขต แต่ละพรรคที่ได้ (สมมติพรรค A ได้คะแนนเสียงทั้งประเทศทั้งหมด 15,000,000 คน) ก็นำจำนวนนี้หารด้วย 70,000 จะได้จำนวนที่เรียกว่า “ส.ส. ที่พึงได้” หรือ “ส.ส. ที่พึงมี” เท่ากับจำนวน 214 คน
  • จากนั้นนำจำนวน “ส.ส. ที่พึงได้” หรือ “ส.ส. ที่พึงมี” (214 คน) ดังกล่าว มาหักลบกับจำนวนส.ส.เขต ของพรรค A ที่ชนะการเลือกตั้งในเขตของตนเอง (สมมติว่าพรรค A ชนะทั้งหมด 180 เขต ก็จะมีส.ส. ในมือเท่ากับ 180 คน) ดังนั้น เมื่อลบกับจำนวนส.ส. ของพรรค A ที่ต้องได้จากสูตรแล้ว จะเท่ากับจำนวน 34 คน โดยส่วนนี้ก็จะมาถูกเติมจาก “ส.ส.บัญชีรายชื่อ” นั่นเอง (พรรค A จะมี ส.ส.บัญชีรายชื่อ ได้ไม่เกินจำนวน 34 คน)

       นอกจากนี้ จากสูตรคำนวณว่าแต่ละพรรคจะได้ “ส.ส.บัญชีรายชื่อ” เท่าไร ให้ดูว่าจำนวน “ส.ส.เขต”มากกว่า เท่ากับ หรือน้อยกว่า “ส.ส.ที่พึงได้” สรุปได้ดังนี้

  • หากจำนวน “ส.ส.เขต” น้อยกว่า จำนวน “ส.ส.ที่พึงได้” ให้เติมจำนวน ส.ส. จาก “ส.ส.บัญชีรายชื่อ” ให้ครบ
  • หากจำนวน “ส.ส.เขต” มากกว่า หรือ เท่ากับ จำนวน “ส.ส.ที่พึงได้” จะไม่เติมจำนวน ส.ส. จาก “ส.ส.บัญชีรายชื่อ” เพราะถือว่าพรรคนั้นได้จำนวน ส.ส. ตามสมควร (ครบตามจำนวน) แล้ว

10) การได้มาของ ส.ว.

       ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ฉบับที่ 20 กำหนดให้สมาชิกวุฒิสภา หรือ ส.ว. ซึ่งถือเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย มีจำนวน 250 คน ในวาระเริ่มแรก และให้ดำรงตำแหน่ง 5 ปี โดยมีที่มาดังต่อไปนี้

  • คณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภาที่แต่งตั้งขึ้นโดย คสช. เพื่อคัดเลือกบุคคลที่เหมาะสมจำนวนไม่เกิน 400 คน โดยแต่ละคนจะต้องสมัครและผ่านกระบวนการมาตั้งแต่ระดับอำเภอ จังหวัด ถึงระดับประเทศ และเสนอ คสช. เพื่อคัดเลือกให้เหลือ ส.ว. จำนวน 194 คน (ต้องเสร็จก่อน 15 วัน ก่อนเลือกตั้ง ส.ส.)
  • การเลือกกันเองระดับอำเภอ จังหวัด ประเทศ เพื่อคัดเลือกบุคคลที่เหมาะสมจากประชาชนที่มีความรู้ เชี่ยวชาญ มีประสบการณ์ หรือที่เคยทำงานหลากหลาย ที่สมัครเข้ามาแล้ว โดยเป็นการ “เลือกกันเอง” ตั้งแต่ระดับอำเภอ จังหวัด ถึงประเทศ จนเหลือ 200 คน แล้วส่งให้ คสช. เพื่อคัดเลือกให้เหลือ ส.ว. จำนวน 50 คน (ต้องเสร็จก่อน 15 วัน ก่อนเลือกตั้ง ส.ส.)
  • ส.ว. โดยตำแหน่ง ได้แก่ ปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ จำนวน 6 คน (ภายใน 3 วัน นับแต่ประกาศผลเลือกตั้ง ส.ส.)

11) การได้มาของนายกรัฐมนตรี ปี 2562:

  • การเลือกตั้งนายกรัฐมนตรี เป็นการโหวตของ "ส.ส. 500 คน" และ "ส.ว. 250 คน"
  • พรรคที่ได้ ส.ส. น้อยกว่า 25 คน ไม่มีสิทธิ์ เสนอชื่อ "นายกรัฐมนตรี"
  • ผู้ได้รับเลือกเป็น "นายกรัฐมนตรี" ไม่จำเป็นต้องเป็น ส.ส. แต่ผู้ที่จะได้เป็นนายกรัฐมนตรีจะต้องมีคะแนนเสียงในสภา อย่างน้อย 376 เสียงขึ้

 

 

Submit to FacebookSubmit to Google PlusSubmit to TwitterShare with friendsPrint this page

จำนวนผู้เข้าชม

1833522
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
3256
3503
16879
1797511
47619
81216
1833522

Your IP: 172.70.189.104
2024-05-17 20:47