80
1

ตาเป็ดตาไก่

ตาเป็ดตาไก่ ชื่อสามัญ Christmas berry, Australian holly, Coral ardisia, Coral bush, Coralberry, Coralberry tree, Hen's-eyes, Hilo Holly, Spiceberry

ตาเป็ดตาไก่ ชื่อวิทยาศาสตร์ Ardisia crenata Sims จัดอยู่ในวงศ์ PRIMULACEAE (MYRSINACEAE)

สมุนไพรตาเป็ดตาไก่ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ก้างปลาดง ตับปลา ลังกาสา (เชียงใหม่), จ้ำเครือ (ลำปาง), ลังกาสาขาว (ตราด), ตีนจำโคก (เลย), ประดงนกกด (สุราษฎร์ธานี), ตาเป็ดหิน (ชุมพร), มาตาอาแย (มลายู-ยะลา), ตาไก่ใบกว้าง (ทั่วไป), มหาเฮง (ชื่อทางการค้า), ตีนเป็ด, ตาเป็ดเขา, ตุ้มลงเดี๋ยง เป็นต้น

ลักษณะของตาเป็ดตาไก่

ต้นตาเป็ดตาไก่ จัดเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก มีความสูงได้ประมาณ 1-2 เมตร พบขึ้นตามพื้นที่ป่าดิบชื้นและป่าดิบแล้งทั่วทุกภาคของประเทศ เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนที่ระบายน้ำดี

ใบตาเป็ดตาไก่ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเวียน ลักษณะของใบเป็นรูปรีหรือรูปไข่กลับ ปลายใบแหลมหรือเรียวแหลม โคนใบสอบเรียว ส่วนขอบใบหยักมนและมีต่อม ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 6-15 เซนติเมตร เนื้อใบหนาคล้ายแผ่นหนัง ใบเป็นสีเขียวสด เมื่อใบดกจะเป็นพุ่มน่าชมยิ่งนัก

ดอกตาเป็ดตาไก่ ออกดอกเป็นช่อคล้ายซี่ร่ม โดยจะออกที่ปลายกิ่งและตามซอกใบ กลีบเลี้ยงดอกเป็นสีเขียวมี 5 กลีบ ส่วนกลีบดอกมี 5 กลีบ โคนเชื่อมกันเป็นรูประฆัง ดอกเป็นสีชมพูแกมขาว หรือสีม่วงแกมชมพู ผิวมีต่อมกระจาย ดอกมีเกสรเพศผู้ประมาณ 4-5 อัน ติดที่หลอดกลีบดอก เกสรเพศเมีย มีรังไข่อยู่ใต้วงกลีบ

สรรพคุณของตาเป็ดตาไก่

1.ตำรายาพื้นบ้านจะใช้รากนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาช่วยเจริญอาหาร (ราก)

2.ตำรายาพื้นบ้านล้านนาจะใช้ทั้งต้น ผสมกับสมุนไพรจำพวกประดงรวม 9 ชนิด แล้วนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยารักษาโรคประดง (ทั้งต้น)

3.ใช้เป็นยาแก้ปากเปื่อย (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)

4.ขูดเปลือกใช้ห่อใบพลูย่างไฟอบไข้ (เปลือก)

5.ใบใช้ต้มกับน้ำอาบแก้ผื่น ตุ่มตามผิวหนัง (ใบ)

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของตาเป็ดตาไก่

  • รากมีสารกลุ่มไตรเทอร์ปีนอยด์ซาโปนิน ซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของมดลูก และยังพบสาร friedelin ที่มีฤทธิ์ลดการอักเสบ และสาร rapanone ที่มีฤทธิ์ต้านการเจริญของเชื้อโรคเรื้อนในสัตว์ทดลอง  

ประโยชน์ของตาเป็ดตาไก่

1.ยอดใช้รับประทานเป็นผักสด

2.ผลสุกมีรสหวานใช้รับประทานได้

3.ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป เวลาติดผลจะดกเต็มต้น เมื่อผลสุกจะเป็นสีแดงสดใส ทำให้ดูสวยงามมาก นิยมนำมาปลูกลงในกระถางขนาดเล็กหรือใหญ่ตามขนาดของต้น โดยสูตรในการปลูกนั้นจะใช้ดิน 1 ส่วน ทรายหยาบ 1 ส่วน กาบมะพร้าวแห้งหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ 1 ส่วน เพื่อให้ช่วยอุ้มน้ำทำให้ชุ่มชื้นตลอดเวลา แกลบดำ 1 ส่วน และปุ๋ยคอกอีก 1 ส่วน นำมาคลุกให้เข้ากันจนได้ที่ จากนั้นนำต้นลงปลูกในกระถางที่ระบายน้ำกระถางได้ดี แล้วนำไปตั้งบริเวณที่มีแสงแดดส่องถึงและมีลมพัดโกรกตลอดวัน รดน้ำพอชุ่มเช้าและเย็น บำรุงด้วยปุ๋ยประเภทขี้วัวแห้ง นำมาโรยรอบโคนต้นทุก 15 วัน จะทำให้ต้นโตเร็วและตกผลดกเต็มต้น

4.สำหรับชาวญี่ปุ่น ต้นตาเป็ดตาไก่นั้นถือเป็นไม้มงคล ที่ใช้สำหรับส่งมอบเป็นของขวัญแก่ผู้เป็นที่รักนับถือในช่วงเทศกาลปีใหม่ เนื่องจากผลสุกของต้นตาเป็ดตาไก่นั้นเป็นสีแดงสดงดงามคล้ายสีดวงอาทิตย์ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติของญี่ปุ่น

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Submit to FacebookSubmit to Google PlusSubmit to TwitterShare with friendsPrint this page

จำนวนผู้เข้าชม

2930711
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
3126
2736
18972
2884802
83120
75141
2930711

Your IP: 108.162.227.88
2025-04-25 22:18